ประกันสังคม คืออะไร ม.33 39 40 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์อย่างไร ?
ประกันสังคม ประกันอะไร? และประกันทำไม?
(By PlanWise) ... ก่อนอื่นเรามาทราบเบื้องต้นก่อนครับว่า การประกัน คืออะไร ตอบ คือ หลักประกัน(สิทธิ)ที่เป็นความคุ้มครอง/การรับรอง ของผู้ที่ได้ทำสัญญากับอีกบุคคลหนึ่งว่าจะรับรองว่า หากเกิด เหตุนี้ เราจะรับผิดชอบอย่างนี้นู่นนี่นันตามสัญญา(ซึ่งก็เป็นหลักการทั่วๆไป)
ที่นี้ "ประกันสังคม" คืออะไร คำว่า "สังคม" มันก็คือคนจำนวนหมู่มาก ฉะนั้น จึงหมายความประมาณว่า การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงิน(สมทบ) เข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ.... เช่น
- เจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- ตาย
- สงเคราะห์
- ชราภาพ
- การว่างงาน
*** เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง ***
สรุป ประกันสังคม คือ หลักประกันที่จะคุ้มครองเรา เมื่อเกิดเหตุการที่ระบุไว้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ประกันสังคมมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือท่านจะต้องจ่ายเงินสมทบให้กองทุนฯ เพื่อให้กองทุนนั้นได้ใช้บริหารความเสี่ยงเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นมา
ประกันทำไม : ตอบ เพราะว่าความไม่แน่นอนในชีวิตอย่างไรล่ะครับ เฉกเช่นเดียวกันกับการทำสัญญาประกันชีวิตนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดี ประกันสังคมได้บัญญัติไว้ให้ผู้ที่เป็นพนง.ประจำในหน่วยงานของรัฐ/เอกชน ต้องมีประกันสังคม(พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 ม.33 : ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ประกันตน) เรียกได้ว่าต้องกระทำโดยผลของกฏหมายกันเลยทีเดียว ไม่ทำเห็นทีไม่น่าจะได้กระมังเพราะกฏหมายว่าเช่นไร ต้องกระทำเช่นนั้น
คำถามต่อไป แล้วประกันสังคม มีกี่แบบ
คำตอบคือมีหลัก 3 แบบ
✅ ม.33 → ถ้าทำงานประจำ
✅ ม.39 → ถ้าเคยเป็น ม.33 แล้วลาออก แต่ยังต้องการความคุ้มครอง
✅ ม.40 → ถ้าเป็นอาชีพอิสระ ต้องการหลักประกันที่เหมาะกับรายได้ของตัวเอง
(นิยามศัพท์)
*** "ผู้ประกันตน" คือ ผู้ซึ่งจ่ายเงินสมทบอันก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฏหมาย
*** "เงินสมทบ" คือ เงินซึ่งรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนร่วมกันจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ตามอัตราที่กำหนด เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนแก่ผู้ประกันตน
*** "กองทุน" คือ กองทุนประกันสังคม
*** "ว่างงาน" คือ การที่ผู้ประกันตนต้องหยุดงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง
ขยายความ
[ ม.33 ] คือ ทำงานในหน่วยงานของรัฐ/เอกชน เข้าไปแล้วฝ่ายบุคคลก็จะดำเนินการขึ้นทะเบียนเข้าสู่ระบบ หากเป็น Frist jobber ก็เริ่มนับตั้งแต่เริ่มงาน จนถึงสิ้นสุดการทำงาน(แต่ยังไม่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนนะครับ)
ใครมีสิทธิ?
- ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี
การจ่ายเงินสมทบ
- ผู้ประกันตนจ่าย 5% ของค่าจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน)
- นายจ้างสมทบ 5%
- รัฐบาลช่วยสมทบอีกบางส่วน
🔹 สิทธิประโยชน์
✔️ ค่ารักษาพยาบาล
✔️ ว่างงาน
✔️ เจ็บป่วย
✔️ ทุพพลภาพ
✔️ คลอดบุตร
✔️ ชราภาพ
✔️ สงเคราะห์บุตร
ความสำคัญ: เป็นมาตราหลักที่ครอบคลุมพนักงานส่วนใหญ่ในระบบประกันสังคม
...ต่อมา ถ้าว่างงานแล้ว มีอยู่ 2 ทางเลือก(เสมอ) ให้เราต้องเลือก คือ
1. (จะ)ส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อไหม(ถ้าส่ง ท่านจะเป็นผู้ประกันตามม.39 ต่อไป)
2. ไม่ส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อ (ตรงนี้ ถือว่า ความเป็นผู้ประกันตนเแ็นอันสิ้นสุดไปตามม.38 (2) คือ ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ สิ้นสุดลง เมื่อผู้ประกันตนนั้น สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง)
-------------------------------
[ ม.39 ] คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตาม ม.33 *โดยจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตาม ม.38 (2) แล้วอยากจะประสงค์จะยังเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายใน #6เดือน นับแต่วันสิ้นสุด ความเป็นผู้ประกันตน
ใครมีสิทธิ?
- เป็นอดีตผู้ประกันตน ม.33 ที่ลาออกจากงาน แต่เคยส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- สมัครภายใน 6 เดือนหลังออกจากงาน
การจ่ายเงินสมทบ
- ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 432 บาท (9% ของค่าจ้าง 4,800 บาท)
- ไม่มีนายจ้างสมทบ
- รัฐบาลช่วยสมทบ
🔹 สิทธิประโยชน์
✔️ ค่ารักษาพยาบาล
✔️ เจ็บป่วย
✔️ ทุพพลภาพ
✔️ คลอดบุตร
✔️ ชราภาพ
✔️ สงเคราะห์บุตร
❌ ไม่มีสิทธิประโยชน์ด้านว่างงาน
ความสำคัญ: ช่วยให้ผู้ประกันตนที่ออกจากงานยังคงได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
จะพบว่า ม.33 และ 39 มีความสัมพันธ์กัน คือ
ม.33 ---> ม.38 (2) --->ม.39
-------------------------------
[ ม.40 ] คือ บุคคลใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามม.33 หรือไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้(พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533) อาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ได้ โดยแสดงความจำนงต่อสำนักงานปกส.
ใครมีสิทธิ?
- อาชีพอิสระ เช่น ค้าขาย รับจ้างทั่วไป เกษตรกร หรือฟรีแลนซ์
- มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ถึง 65 ปี
🔹 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ
- มี 3 แผนให้เลือก จ่ายตั้งแต่ 70 - 300 บาท/เดือน
- รัฐช่วยสมทบเงินให้
🔹 สิทธิประโยชน์ (ขึ้นอยู่กับแผนที่เลือก)
✔️ ค่ารักษาพยาบาล (บางแผน)
✔️ เจ็บป่วย
✔️ ทุพพลภาพ
✔️ เสียชีวิต
✔️ ชราภาพ (บางแผน)
❌ ไม่มีสิทธิประโยชน์เรื่องสงเคราะห์บุตรและว่างงาน
ความสำคัญ: ขยายความคุ้มครองให้กับผู้ที่ไม่มีนายจ้างหรือทำงานอิสระ
-------------------------------
ความสัมพันธ์ระหว่าง ม.33, ม.39 และ ม.40
ม.33 → ม.39: ถ้าลาออกจากงานจาก ม.33 สามารถสมัครเป็น ม.39 ได้
ม.40 แยกต่างหาก: อาชีพอิสระไม่สามารถสมัคร ม.33 หรือ ม.39 ได้ แต่สามารถเลือกเป็นผู้ประกันตน ม.40 ได้
ทุกมาตรามีวัตถุประสงค์หลักคือ ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพและเงินออมเพื่อชราภาพ
หากต้องการสมัครหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมหรือเช็กข้อมูลได้ที่ www.sso.go.th
-------------------------------
สรุปข้อมูลโดย เพจ PlanWise / www.planwise.in.th
#PlanWise
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น